วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554


เทคนิคการเรียนให้เก่ง
พูดถึงเรื่องเรียน ใครๆก็อยากเก่งกันทุกคน แต่คงมีหลายคน ที่อาจจะท้อแท้กับการเรียน นักวิชาการและนักวิจัยต่างๆ ได้ทำการสำรวจและวิจัย พบว่าเทคนิคการเรียนต่างๆจากหลายๆคนแตกต่างกันไป ก็เลยนำมาเสนอให้เพื่อนๆที่สนใจได้อ่านด้วย เราไปดูกันดีกว่าว่า การเรียน เก่ง เขามีเทคนิคอะไร ยังไง
จากการวิจัยและวิเคราะห์ของนักแนะแนวการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายคนพบว่า ผู้ที่เรียนไม่ค่อยประสบความสำเร็จหรือเรียนแบบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ผู้ที่มีลักษณะดังนี้
-   เป็นคนที่มักละทิ้งงานไว้ก่อนก่อนจึงค่อยทำ เมื่อถึงนาทีสุดท้าย
-   เสียสมาธิ หันเห ความสนใจไปจากการเรียนได้โดยง่าย
-   เมื่อทำงานที่ยากๆ จะสูญเสียความสนใจ หรือขาดความมานะ พยายามนั่นเอง
-   มักใช้เรื่องของการสอบ เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียน
-   ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีตารางการทำงานอย่าวงสม่ำเสมอ
การเรียนที่มีประสิทธิภาพควรมีลักษณะดังนี้คือ
- ควรมีตารางเรียนและทำงานตรงตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
- ทำงานในระยะเวลาที่ไม่นานนักและควรมีการหยุดพักผ่อน
- ไม่ปล่อยงานค้างไว้จนวินาทีสุดท้าย
- ควรตั้งสมาธิให้แน่วแน่ ไม่เสียสมาธิง่าย
- อย่าใช้การสอบเป็นนแรงจูงใจในการอ่านหนังสือ
- ควรอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนตามสมควร
- เข้าฟังการบรรยาย สัมมนาแล้วควรกลับไปอ่านทบทวน
- พยายามอย่าละเลยวิชาที่ยากกว่าวิชาอื่นๆ
- ควรมีความรู้ในการใช้บริการห้องสมุดด้วยเป็นดี
- ปรับปรุงคำบรรยาย ที่จดจากห้องเรียนให้กระชับ กะทัดรัดและเข้าใจง่าย
- พยายามทำให้การเรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และสนุกสนานกับมัน
- ควรมีแรงกระตุ้นกับมันและไม่ควรทำงานหนักเกินไปในวันหยุด
- เมื่อพยายามปฏิบัติทุกข้ออย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เรียนได้ดี
จากการวิจัยเรื่องลักษณะการอ่านหนังสือหลายๆคนมักจะทำกันอย่างนี้
- อ่านหนังสือเที่ยวนึงก่อน แล้วกลับมาอ่านซ้ำอีกที
- ขีดเส้นใต้ใจความหลักและรายละเอียดที่สำคัญในตำรา
- อ่านอย่างตั้งใจแล้วทำบันทึกเค้าโครงสั้นๆไว้ เพื่อประหยัดเวลาในการอ่านทบทวน
ซึ่งนักวิเคราะห์สรุปว่า วิธีที่3ค่อนข้างจะดีกว่าข้ออื่นๆแต่การทำพร้อมๆกันทั้ง 3 วิธี เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการอ่านหนังสือเลยทีเดียว
Thorndike กล่าวว่า ประสบการณ์ก่อให้เกิดความชำนาญ เขาใด้ตั้งกฎแห่งการเรียนไว้ 3 อย่างซึ่งพูดถึงการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น การตอบรับ การฝึกหัดเพื่อก่อให้ เกิดประสบการณ์ และการเตรียมความพร้อมในด้านการเรียน และเขายังมี ข้อแนะนำที่จะช่วยให้การเรียนได้ผลดีและรวดเร็ว คือ
- พยายามสร้างความอยากที่จะเรียน (motivation)
- พยายามตอบสนองต่อการเรียน (reaction) อย่างต่อเนื่อง
- ควรมีความแน่วแน่กับการเรียน (concentrate)
- จัดลำดับเรี่องที่จะเรียน (organization) ให้เป็นหมวดหมู่ก่อนหลัง ไม่ปะปนกัน
- ควรมีความเข้าใจ (comprehension) ในจุดมุ่งหมายในเนื้อหาที่เรียน
- มีการทบทวน (repettition) เพื่อเป็นการไม่ให้ลืม
เทคนิคการอ่านหนังสือ โดย อ.พรทิพย์ ศรีสุรักษ์
- สำรวจเนื้อหาและส่วนประกอบต่างๆในเล่มทั้งหมด
- อ่านเนื้อหาทั้งหมด แล้วอ่านซ้ำเพื่อจับ
- ควรมีการตั้งคำถามกับตัวเองขณะอ่าน ว่าใคร ทำอะไร ที่ใหน เมื่อไหร่ อย่างไร
- ขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญจากนั้นบันทึกเป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย
- พยายามจับประเด็นจากคำบรรยายและจากตำราให้เข้ากัน
- ต้องมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
หลัก SQ3R เพื่อช่วยให้การอ่านตำราประสบความสำเร็จมีดังนี้
S:
servey
คือ การสำรวจตำราเรียนอย่างคร่าวๆ
Q:
question
คือ การตั้งคำถามทั่วๆไปเพื่อที่จะเข้าสู่เนื้อหา
R:
read
แล้วก็ต้องอ่านเพื่อจับประเด็นความคิดออกมา
R:
recall
แล้วต้องพยายามที่จะจดจำในเนื้อหาที่สำคัญๆไว้ด้วย และ R สุดท้าย
R:
review
หมั่นทบทวนอยู่เสมอเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและการนำไปใช้
นอกจากนี้ อ.ธีรพร ชัยวัชราภรณ์ ยังให้เทคนิคการจำที่น่าสนใจ ให้นำไปใช้อีกด้วย
- อย่าจดจำในสิ่งที่ตัวเองยังไม่เข้าใจ
- ทบทวนบันทึกหลังการเรียนมาภายใน12ชม.
- ต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาทุกๆตอนก่อนที่จะผ่านไปและต้องทบทวนอย่างสม่ำเมอ
- พยายามเรียนให้มากๆและอย่าเพิ่งหยุดในขณะที่เพิ่งเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลือกจำเฉพาะจุดที่สำคัญและรวบรวมเนื่อหาเหล่านั้นเข้าด้วยกันและมีระบบขั้นตอน
- ทำการซ้ำหลายๆหน เช่นท่องปากเปล่าหรือเขียนเพื่อที่จะช่วยให้จดจำได้มากขึ้น และ
- การท่องเป็นจังหวะจะช่วยให้ท่องจำได้ง่ายขึ้น
วิธีเรียนให้เก่ง
ฝึกสังเกต สังเกตในสิ่งที่เราเห็น หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ไปดูนก ดูผีเสื้อ หรือในการทำงาน การฝึกสังเกตจะทำให้เกิดปัญญามาก โลกทรรศน์ และวิธีคิด สติ-สมาธิ จะเข้าไปมีผลต่อการสังเกต และสิ่งที่สังเกต
ฝึกบันทึก เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรฝึกบันทึก โดยจะวาดรูปหรือ บันทึกข้อความ ถ่ายภาพ ถ่ายวีดิโอ ละเอียดมากน้อยตามวัยและ ตามสถานการณ์การบันทึกเป็นการพัฒนาปัญญา
ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม กลุ่ม เมื่อ มีการทำงานกลุ่ม เรา ไปเรียนรู้อะไรมาบันทึกอะไรมา จะนำเสนอให้เพื่อนหรือครูรู้เรื่อง ได้อย่างไร ก็ต้องฝึกการนำเสนอการนำเสนอได้ดีจึงเป็นการพัฒนา ปัญญาทั้งของผู้นำเสนอและของกลุ่ม
ฝึกการฟัง ถ้ารู้จักฟังคนอื่นก็จะทำให้ฉลาดขึ้น โบราณเรียกว่า เป็นพหูสูตบางคนไม่ได้ยินคนอื่นพูด เพราะหมกมุ่นอยู่ในความคิด ของตัวเองหรือมีความฝังใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนเรื่องอื่นเข้าไม่ได้ ฉันทะ สติ สมาธิ จะช่วยให้ฟังได้ดีขึ้น
ฝึกปุจฉา-วิสัชนา เมื่อมีการนำเสนอและการฟังแล้ว ฝึกปุจฉา-วิสัชนา หรือถาม-ตอบ ซึ่งเป็นการฝึกใช้เหตุผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำ ให้เกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นๆ ถ้าเราฟังครูโดยไม่ถาม-ตอบ ก็ จะไม่แจ่มแจ้ง
ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม เวลาเรียนรู้อะไรไปแล้ว เรา ต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนั้นเกิดจากอะไร อะไรมีประโยชน์ ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์อันนั้น และมีการ ฝึกการตั้งคำถาม ถ้ากลุ่มช่วยกันคิดคำถามที่มีคุณค่าและมีความ สำคัญ ก็จะอยากได้คำตอบ
ฝึกการค้นหาคำตอบ เมื่อมีคำถามแล้วก็ควรไปค้นหาคำตอบ จากหนังสือ จากตำรา จากอินเตอร์เน็ต หรือไปคุยกับคนเฒ่าคน แก่ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่ สำคัญจะสนุกและทำให้ได้ความรู้มาก ต่างจากการท่องหนังสือ โดยไม่มีคำถาม บางคำถามเมื่อค้นหาคำตอบทุกวิถีทางจนหมด แล้วก็ไม่พบ แต่ถามยังอยู่ และมีความสำคัญ ต้องหาคำตอบต่อ ไปด้วยการวิจัย
การวิจัย การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้ทุกระดับการวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิด ความภูมิใจ สนุก และมีประโยชน์มาก
เชื่อมโยงบูรณาการ ให้เห็นความเป็นทั้งหมดและเห็นตัวเอง ธรรมชาติของสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง เมื่อเรียนรู้อะไรมาอย่าให้ความ รู้นั้นแยกเป็นส่วน ๆ แต่ควรจะเชื่อมโยงเป็นบูรณาการให้เห็นความเป็น ทั้งหมดในความเป็นทั้งหมดจะมีความงาม และมีมิติอื่นผุดบังเกิด ออกมาเหนือความเป็นส่วน ๆ และในความเป็นทั้งหมดนั้นมองให้ เห็นตัวเอง เกิดการรู้ตัวเองตามความเป็นจริง ว่าสัมพันธ์กับความ เป็นทั้งหมดอย่างไร จริยธรรมอยู่ที่ตรงนี้ คือการเรียนรู้ตัวเองตาม ความเป็นจริง ว่าสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร
ดังนั้น ไม่ว่าการเรียนรู้อะไร ๆ ก็มีมิติทางจริยธรรมอยู่ในนั้นเสมอ มิติทางจริยธรรมอยู่ในความเป็นทั้งหมดนั่นเอง ต่างจากการเอา จริยธรรมไปเป็นวิชา ๆ หนึ่งแบบแยกส่วน แล้วก็ไม่ค่อยได้ผล ในการบูรณาการความรู้ที่เรียนรู้มาให้รู้ความเป็นทั้งหมด และเห็นตัวเองนี้ จะนำไปสู่อิสรภาพและความสุขอันล้นเหลือ เพราะ หลุดพ้นจากความบีบคั้นของความไม่รู้ การไตร่ตรองนี้จะโยงกลับไป สู่วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ว่าเพื่อลดตัวกู-ของกู และเพื่อการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ อันจะช่วยกำกับให้การแสวงหาความรู้เป็นไป เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว มิใช่เป็นไปเพื่อความกำเริบแห่งอหังการ และเพื่อรบกวนการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ
ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ ถึงกระบวนการเรียนรู้และความรู้ ใหม่ที่ได้มาการเรียบเรียงทางวิชาการเป็นการเรียบเรียงความคิดให้ประณีตขึ้น ทำให้ค้นคว้าหาหลักฐานที่มาที่อ้างอิงของความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นยำขึ้น การเรียบเรียงทางวิชากรจึงเป็นการพัฒนาปัญญาของตนเองอย่างสำคัญ และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น