เรียนอย่างไรให้เข้าใจ
อ่านหนังสือก่อนเข้าเรียน ทำความเข้าใจกับเนื้อหาคร่าว ๆ อาจเลคเชอร์ในส่วนที่ยังไม่เข้าใจไว้ แล้วตั้งใจฟังเมื่ออาจารย์สอน จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาเร็วขึ้น การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเรียน จะเรียนรู้ได้ดีกว่านั่งฟังอาจารย์อย่างเดียว
เข้าเรียนทุกวิชาและตั้งใจเรียนให้เต็มที่ เพราะจะจับทิศทางได้ว่า สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญที่อาจารย์เน้นย้ำ และจดเลคเชอร์ตามด้วยภาษาตัวเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์เมื่อต้องกลับไปทบทวน
เก็บรายละเอียดเนื้อหาที่อาจารย์สอน หากไม่เข้าใจประเด็นไหนควรถามให้เข้าใจ อย่าปล่อยให้ผ่านไป เพราะจะเป็นการสะสมและอาจเกี่ยวโยงกับเนื้อหาส่วนอื่น ๆ
อย่าท่องอย่างเดียว แต่ควรทำความเข้าใจกับวิชาที่เรียน ทบทวนครั้งแรกโดยอ่านเนื้อหาทั้งหมด ต่อมาอ่านแบบจัดระบบอีกครั้ง เลคเชอร์เป็นแผนผัง เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการทบทวน
ฝึกทำโจทย์สม่ำเสมอ ในวิชาคำนวณอย่างคณิตศาสตร์ หรือฟิสิกส์ โดยศึกษาสูตร นิยาม คำจำกัดความต่าง ๆ ให้เข้าใจ แล้วหมั่นทำแบบฝึกหัด จะช่วยให้เห็นความหลากหลายของโจทย์ และกระตุ้นวิธีคิดคำตอบ ช่วยเพิ่มทักษะการคำนวณได้ดี
การเรียนให้เข้าใจ สิ่งสำคัญต้องมีความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันไม่ควรเครียดจนเกินไป แต่ควรแบ่งเวลาทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เคล็ดลับ การเรียนเก่ง
เช่น ตื่น 6 โมงเช้านอน 4 ทุ่ม ซัก 1 เดือนติดต่อกัน
ให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือครับ.
เพราะจะเป็นการจัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยม
และจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้ครับ.
ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดีได้ยากครับ.
2. หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ ครับ.
เช่นตั้งไว้ว่า วันนึง เราจะ อ่านซัก 1 - 2 ชม.ก็เกินพอครับ.
แต่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่องครับ. ถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1. ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างนึงแล้ว
ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุดครับ.
3. ที่ว่า 1 -2 ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไรครับ.
4. อ่านจบวันนึง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะครับ.
สรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร
5. ถึงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก 5 นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ เมื่อกี๊ครับ.
7. วิธีเรียนพวกวิชาที่ใช้ความเข้าใจ
อันดับแรกต้องรีบศึกษาเนื้อหาทั้งหมดให้จบอย่างรวดเร็วครับ.
ถามว่าอ่านจากไหน อย่ามองไกลครับ.
แบบเรียนนั่นล่ะ อย่าเพิ่งไปมองพวกคู่มือ
ถ้าเราอ่านแบบเรียนไม่รู้เรื่อง ก็อย่าไปหวังจะดูตำราอื่นเลยครับ.
จากนั้นให้รีบหา แบบฝึกหัด มาทำในแบบเรียนนั่นล่ะให้ได้หมดก่อน
จากนั้นค่อย เสาะหาตำราคู่มือที่คิดว่าเราดี อ่านแล้วเข้าใจอีกซักเล่มนึงมา
อ่านเนื้อหาให้หมด อีกที แล้วทำแบบฝึกหัดในเล่มนั้นให้จบหมด .
สำคัญคือความตั้งใจนะครับ.
ต้องเข้าใจว่าเรา มีความรู้ในบทนั้น ๆ จบแล้ว
ทำไมยังทำโจทย์บางข้อไม่ได้ พยายามคิด
สุดท้ายไม่ออก ก็ดูเฉลย แล้วต้องตอบตัวเอง
ให้ได้ว่าเราโง่ตรงไหน ทำไมทำไม่ได้
โจทย์ข้อนั้น ๆ เป็นเทคนิคเฉพาะหรือเปล่า
ต่อไป ก็เสาะหาพวกข้อสอบต่าง ๆ มาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว ก็ ทำ ๆ ๆ จนเกิดรู้สึกว่า
บรรลุ !!! ในเรื่องนั้น ๆ มันเป็นความรู้สึกคล้าย ๆ สำเร็จเป็นผู้วิเศษอะไรทำนองนั้น หรือฝึกวิทยายุทธสำเร็จแบบนั้น
มองโจทย์ปุ๊บ จะเกิดความคิด แปร๊บ ๆ ขึ้นมานึกออกทะลุหมด
เมื่อนั้นรู้สึกแบบนี้เมื่อไร ให้รีบสรุปเนื้อหาบทนั้น ๆ ออกมา
ในกระดาษขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว คูณ 4 - 5 นิ้วครับ.
ใช้หน้าหลังเขียนให้พอให้ได้ใน 1 บทต่อ 1 แผ่น อาจจะมียกเว้นบางบท
เช่น สถิติ อาจใช้ถึง 6 แผ่น หรือตรีโกณ 3 แผ่น ส่วนใหญ่ไม่เกินหรอกครับ.
จากนั้นปาตำราบทนั้น ๆ ทิ้งไปเลยครับ
. 8. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำอะไรก็ตามที่
9. กระบวนการสุดท้าย เป็นการเพิ่มพลังความมั่นใจในตัวเองซึ่งต้องกระทำติดต่อกันบ่อยๆ เรื่อยๆ คือกระบวนการสอบแข่งขันครับ.
ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นไปได้สอบแข่งซะแต่
ม.1 จนจบ ม.6 เลย จะทำให้เรารู้อันดับตัวเอง
เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ ครับ. เช่นเราอาจจะเรียนได้เกรดดี แต่พอสอบแข่ง จริง ๆล่ะ สู้เขาได้ใหม
ทักษะในการทำข้อสอบ มีใหม
เข้าห้องก็เดินหน้าลุยทำแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้ายเลยหรือเปล่า
ก็พวก สมาคม โอลิมปิก หรืออะไรก็ตามที ทั้งสอบแข่งในโรงเรียน
เช่น โรงเรียนจัดเอง หรือสัปดาห์ต่าง เช่น สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์
ภาษาอังกฤษ โคงงงานวิทยาศาตร์ ตอบปัญหาภาษาไทย อังกฤษ ฯลฯ
สุดท้ายทั้งหมดที่ว่ามา ถ้าน้องคนไหนทำได้นะครับ. ซัก 1 - 2 ปี รู้ผลแน่
พี่รับรองได้ 100 % เลยว่าอย่างน้อยต้องอยู่ในอันดับ 1 - 3 ของชั้น แน่นอน อันดับระดับประเทศ ก็ไม่เกิน 50 อย่างมาก
1.คุมเวลาตื่นนอนให้ได้ทุกวันก่อนครับ.
เช่น ตื่น 6 โมงเช้านอน 4 ทุ่ม ซัก 1 เดือนติดต่อกัน
ให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือครับ.
เพราะจะเป็นการจัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยม
และจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้ครับ.
ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดีได้ยากครับ.
2. หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ ครับ.
เช่นตั้งไว้ว่า วันนึง เราจะ อ่านซัก 1 - 2 ชม.ก็เกินพอครับ.
แต่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่องครับ. ถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1. ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างนึงแล้ว
ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุดครับ.
3. ที่ว่า 1 -2 ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไรครับ.
อย่างเช่นพี่จะ อ่านวันละ 2 ชม. แต่แบ่ง เป็น 4 ยกครับ. ครั้งละ 25 - 30 นาที
และพัก 5- 10 นาที
และพัก 5- 10 นาที
4. อ่านจบวันนึง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะครับ.
สรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร
5. ถึงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก 5 นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ เมื่อกี๊ครับ.
ถ้านึกไม่ออกแสดงว่าสมาธิตอนอ่านหนังสือไม่ด ี
ให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่ครับ.
ให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่ครับ.
6. ต้องรู้วิธีเรียนในแต่ละวิชาครับ.
เช่น คณิต + ฟิสิกส์ เน้นความเข้าใจเป็นอันดับ 1
เคมี เน้น เข้าใจ + ท่องจำบางอย่าง เช่น ตารางธาตุ ถ้าท่องยังไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจว่ามันจำเป็นต้องจำ
อังกฤษ เป็นเรื่องทักษะ ต้องใช้บ่อย ๆ ครับ.
เวลาจะทำอะไรก็นึกเป็นภาษาอังกฤษบ้าง
เช่นนึกจะทักเพื่อนว่าไปไหน ก็นึกว่า
where do you go .? อะไรเป็นต้น
แล้วก็ต้องเข้าใจ เป็นภาษาต่างด้าวยังมีคำหรือสำนวนที่เราไม่เข้าใจอีกเยอะ
ดังนั้นเรื่องศัพท์ต้องรู้เยอะ ๆ เวลาจะไปดูหนัง Entertain กันทั้งที
ก็เลือกดูเรื่องที่เขามีแต่ sub title เป็นภาษาอังกฤษ
เคมี เน้น เข้าใจ + ท่องจำบางอย่าง เช่น ตารางธาตุ ถ้าท่องยังไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจว่ามันจำเป็นต้องจำ
อังกฤษ เป็นเรื่องทักษะ ต้องใช้บ่อย ๆ ครับ.
เวลาจะทำอะไรก็นึกเป็นภาษาอังกฤษบ้าง
เช่นนึกจะทักเพื่อนว่าไปไหน ก็นึกว่า
where do you go .? อะไรเป็นต้น
แล้วก็ต้องเข้าใจ เป็นภาษาต่างด้าวยังมีคำหรือสำนวนที่เราไม่เข้าใจอีกเยอะ
ดังนั้นเรื่องศัพท์ต้องรู้เยอะ ๆ เวลาจะไปดูหนัง Entertain กันทั้งที
ก็เลือกดูเรื่องที่เขามีแต่ sub title เป็นภาษาอังกฤษ
7. วิธีเรียนพวกวิชาที่ใช้ความเข้าใจ
อันดับแรกต้องรีบศึกษาเนื้อหาทั้งหมดให้จบอย่างรวดเร็วครับ.
ถามว่าอ่านจากไหน อย่ามองไกลครับ.
แบบเรียนนั่นล่ะ อย่าเพิ่งไปมองพวกคู่มือ
ถ้าเราอ่านแบบเรียนไม่รู้เรื่อง ก็อย่าไปหวังจะดูตำราอื่นเลยครับ.
จากนั้นให้รีบหา แบบฝึกหัด มาทำในแบบเรียนนั่นล่ะให้ได้หมดก่อน
จากนั้นค่อย เสาะหาตำราคู่มือที่คิดว่าเราดี อ่านแล้วเข้าใจอีกซักเล่มนึงมา
อ่านเนื้อหาให้หมด อีกที แล้วทำแบบฝึกหัดในเล่มนั้นให้จบหมด .
สำคัญคือความตั้งใจนะครับ.
ต้องเข้าใจว่าเรา มีความรู้ในบทนั้น ๆ จบแล้ว
ทำไมยังทำโจทย์บางข้อไม่ได้ พยายามคิด
สุดท้ายไม่ออก ก็ดูเฉลย แล้วต้องตอบตัวเอง
ให้ได้ว่าเราโง่ตรงไหน ทำไมทำไม่ได้
โจทย์ข้อนั้น ๆ เป็นเทคนิคเฉพาะหรือเปล่า
ต่อไป ก็เสาะหาพวกข้อสอบต่าง ๆ มาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว ก็ ทำ ๆ ๆ จนเกิดรู้สึกว่า
บรรลุ !!! ในเรื่องนั้น ๆ มันเป็นความรู้สึกคล้าย ๆ สำเร็จเป็นผู้วิเศษอะไรทำนองนั้น หรือฝึกวิทยายุทธสำเร็จแบบนั้น
มองโจทย์ปุ๊บ จะเกิดความคิด แปร๊บ ๆ ขึ้นมานึกออกทะลุหมด
เมื่อนั้นรู้สึกแบบนี้เมื่อไร ให้รีบสรุปเนื้อหาบทนั้น ๆ ออกมา
ในกระดาษขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว คูณ 4 - 5 นิ้วครับ.
ใช้หน้าหลังเขียนให้พอให้ได้ใน 1 บทต่อ 1 แผ่น อาจจะมียกเว้นบางบท
เช่น สถิติ อาจใช้ถึง 6 แผ่น หรือตรีโกณ 3 แผ่น ส่วนใหญ่ไม่เกินหรอกครับ.
จากนั้นปาตำราบทนั้น ๆ ทิ้งไปเลยครับ
. 8. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำอะไรก็ตามที่
คือ ต้องมีความรู้ติดสมอง สามารถหยิบมาใช้การได้ทันทีครับ. ถ้าคิดจะเรียนเพื่อสอบนั่นก็แสดงว่า
กำลังคิดผิดอย่างใหญ่หลวงครับ. เด็กสมัยใหมนี้ชอบคิดว่าเรียน ๆ ไปเพื่อสอบ สอบเสร็จก็เลิก
นั่นเป็นเพราะผลพวงของระบบ แข่งในการศึกษาของไทยเราครับ. เด็กต้องสอบ Entrance เข้าต่อ
ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกในการใฝ่รู้
ต้องเข้าใจว่าเราเรียนหนังสือนี่ ต้องถือว่าไม่มีใครมาบังคับเรา
เราเรียนเพื่อตัวเราเอง เพื่อพัมนาสมองเราเอง พัฒนา มุมมองความคิดต่าง ๆ
เพื่อให้เราเป็นยอดคนเอง สามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ทุกเมื่อ
ไม่ว่าจะยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองหรือหลุดจากอ้อมแขน บิดามารดาเมื่อไร
ต้องสามารถที่จะกล้าคิดและทำ พึ่งตัวเอง ยังชีพตัวองในสังคมนี้ได้ครับ.
ดังนั้น จากข้อ 7. เราต้องบันทึกความรู้ที่เรารู้แล้ว
ให้เป็นความรู้ยาวนานติดสมอง โดยทำดังต่อไปนี้ครับ.
- ให้นึก ! โน๊ตย่อที่เราสรุปเอง อาทิตย์ละหน ติดต่อกัน ซัก 1 เดือนหรือ 4 อาทิตย์
นึกนะครับ . ไม่ใช่เปิดดูถ้านึกไม่ออก แสดงว่าไม่ได้สรุปเองแล้วล่ะเปิดหนังสือ แล้วสรุปตามแหง ๆ
จากนั้นให้ทิ้งห่างเป็น นึก 1 เดือนต่อครั้ง
จนเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะนึกทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว
ให้เลิกครับ. ใกล้สอบค่อยว่ากันอีกที
กระบวนการที่ว่านึกตั้งแต่ 1 อาทิตยืจนเลิกนึกนี่
คาดว่าไม่ตำกว่า 3 เดือนนะครับ.
ใครน้อยกว่านี้ แสดงว่าโกหกตัวเองชัวร์
กำลังคิดผิดอย่างใหญ่หลวงครับ. เด็กสมัยใหมนี้ชอบคิดว่าเรียน ๆ ไปเพื่อสอบ สอบเสร็จก็เลิก
นั่นเป็นเพราะผลพวงของระบบ แข่งในการศึกษาของไทยเราครับ. เด็กต้องสอบ Entrance เข้าต่อ
ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกในการใฝ่รู้
ต้องเข้าใจว่าเราเรียนหนังสือนี่ ต้องถือว่าไม่มีใครมาบังคับเรา
เราเรียนเพื่อตัวเราเอง เพื่อพัมนาสมองเราเอง พัฒนา มุมมองความคิดต่าง ๆ
เพื่อให้เราเป็นยอดคนเอง สามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ทุกเมื่อ
ไม่ว่าจะยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองหรือหลุดจากอ้อมแขน บิดามารดาเมื่อไร
ต้องสามารถที่จะกล้าคิดและทำ พึ่งตัวเอง ยังชีพตัวองในสังคมนี้ได้ครับ.
ดังนั้น จากข้อ 7. เราต้องบันทึกความรู้ที่เรารู้แล้ว
ให้เป็นความรู้ยาวนานติดสมอง โดยทำดังต่อไปนี้ครับ.
- ให้นึก ! โน๊ตย่อที่เราสรุปเอง อาทิตย์ละหน ติดต่อกัน ซัก 1 เดือนหรือ 4 อาทิตย์
นึกนะครับ . ไม่ใช่เปิดดูถ้านึกไม่ออก แสดงว่าไม่ได้สรุปเองแล้วล่ะเปิดหนังสือ แล้วสรุปตามแหง ๆ
จากนั้นให้ทิ้งห่างเป็น นึก 1 เดือนต่อครั้ง
จนเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะนึกทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว
ให้เลิกครับ. ใกล้สอบค่อยว่ากันอีกที
กระบวนการที่ว่านึกตั้งแต่ 1 อาทิตยืจนเลิกนึกนี่
คาดว่าไม่ตำกว่า 3 เดือนนะครับ.
ใครน้อยกว่านี้ แสดงว่าโกหกตัวเองชัวร์
9. กระบวนการสุดท้าย เป็นการเพิ่มพลังความมั่นใจในตัวเองซึ่งต้องกระทำติดต่อกันบ่อยๆ เรื่อยๆ คือกระบวนการสอบแข่งขันครับ.
ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นไปได้สอบแข่งซะแต่
ม.1 จนจบ ม.6 เลย จะทำให้เรารู้อันดับตัวเอง
เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ ครับ. เช่นเราอาจจะเรียนได้เกรดดี แต่พอสอบแข่ง จริง ๆล่ะ สู้เขาได้ใหม
ทักษะในการทำข้อสอบ มีใหม
เข้าห้องก็เดินหน้าลุยทำแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้ายเลยหรือเปล่า
ก็พวก สมาคม โอลิมปิก หรืออะไรก็ตามที ทั้งสอบแข่งในโรงเรียน
เช่น โรงเรียนจัดเอง หรือสัปดาห์ต่าง เช่น สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์
ภาษาอังกฤษ โคงงงานวิทยาศาตร์ ตอบปัญหาภาษาไทย อังกฤษ ฯลฯ
สุดท้ายทั้งหมดที่ว่ามา ถ้าน้องคนไหนทำได้นะครับ. ซัก 1 - 2 ปี รู้ผลแน่
พี่รับรองได้ 100 % เลยว่าอย่างน้อยต้องอยู่ในอันดับ 1 - 3 ของชั้น แน่นอน อันดับระดับประเทศ ก็ไม่เกิน 50 อย่างมาก
อ้อ ลืมบอกไปครับ. สิ่งสำคัญคือการอ่านล่วงหน้าครับ.
ช่วงปิดเทอม ก็อ่านของเทอมหน้านู้นหรือ อยู่ ม.4 จะอ่านของ ม.6 ก็ได้นะไม่ผิด
ช่วงปิดเทอม ก็อ่านของเทอมหน้านู้นหรือ อยู่ ม.4 จะอ่านของ ม.6 ก็ได้นะไม่ผิด
อ่านหนังสืออย่างไรให้จำแม่น
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3. หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำ โดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่ายๆ สั้นๆ ดังต่อไปนี้
ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริงๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
เทคนิคการเรียนให้เก่ง
พูดถึงเรื่องเรียน ใครๆก็อยากเก่งกันทุกคน แต่คงมีหลายคน ที่อาจจะท้อแท้กับการเรียน นักวิชาการและนักวิจัยต่างๆ ได้ทำการสำรวจและวิจัย พบว่าเทคนิคการเรียนต่างๆจากหลายๆคนแตกต่างกันไป ก็เลยนำมาเสนอให้เพื่อนๆที่สนใจได้อ่านด้วย เราไปดูกันดีกว่าว่า การเรียน เก่ง เขามีเทคนิคอะไร ยังไง
จากการวิจัยและวิเคราะห์ของนักแนะแนวการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายคนพบว่า ผู้ที่เรียนไม่ค่อยประสบความสำเร็จหรือเรียนแบบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ผู้ที่มีลักษณะดังนี้
- เป็นคนที่มักละทิ้งงานไว้ก่อนก่อนจึงค่อยทำ เมื่อถึงนาทีสุดท้าย |
- เสียสมาธิ หันเห ความสนใจไปจากการเรียนได้โดยง่าย |
- เมื่อทำงานที่ยากๆ จะสูญเสียความสนใจ หรือขาดความมานะ พยายามนั่นเอง |
- มักใช้เรื่องของการสอบ เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียน |
- ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีตารางการทำงานอย่าวงสม่ำเสมอ |
การเรียนที่มีประสิทธิภาพควรมีลักษณะดังนี้คือ |
- ควรมีตารางเรียนและทำงานตรงตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ |
- ทำงานในระยะเวลาที่ไม่นานนักและควรมีการหยุดพักผ่อน |
- ไม่ปล่อยงานค้างไว้จนวินาทีสุดท้าย |
- ควรตั้งสมาธิให้แน่วแน่ ไม่เสียสมาธิง่าย |
- อย่าใช้การสอบเป็นนแรงจูงใจในการอ่านหนังสือ |
- ควรอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนตามสมควร |
- เข้าฟังการบรรยาย สัมมนาแล้วควรกลับไปอ่านทบทวน |
- พยายามอย่าละเลยวิชาที่ยากกว่าวิชาอื่นๆ |
- ควรมีความรู้ในการใช้บริการห้องสมุดด้วยเป็นดี |
- ปรับปรุงคำบรรยาย ที่จดจากห้องเรียนให้กระชับ กะทัดรัดและเข้าใจง่าย |
- พยายามทำให้การเรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และสนุกสนานกับมัน |
- ควรมีแรงกระตุ้นกับมันและไม่ควรทำงานหนักเกินไปในวันหยุด |
- เมื่อพยายามปฏิบัติทุกข้ออย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เรียนได้ดี |
จากการวิจัยเรื่องลักษณะการอ่านหนังสือหลายๆคนมักจะทำกันอย่างนี้ |
- อ่านหนังสือเที่ยวนึงก่อน แล้วกลับมาอ่านซ้ำอีกที |
- ขีดเส้นใต้ใจความหลักและรายละเอียดที่สำคัญในตำรา |
- อ่านอย่างตั้งใจแล้วทำบันทึกเค้าโครงสั้นๆไว้ เพื่อประหยัดเวลาในการอ่านทบทวน |
ซึ่งนักวิเคราะห์สรุปว่า วิธีที่3ค่อนข้างจะดีกว่าข้ออื่นๆแต่การทำพร้อมๆกันทั้ง 3 วิธี เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการอ่านหนังสือเลยทีเดียว
Thorndike กล่าวว่า ประสบการณ์ก่อให้เกิดความชำนาญ เขาใด้ตั้งกฎแห่งการเรียนไว้ 3 อย่างซึ่งพูดถึงการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น การตอบรับ การฝึกหัดเพื่อก่อให้ เกิดประสบการณ์ และการเตรียมความพร้อมในด้านการเรียน และเขายังมี ข้อแนะนำที่จะช่วยให้การเรียนได้ผลดีและรวดเร็ว คือ
- พยายามสร้างความอยากที่จะเรียน (motivation) |
- พยายามตอบสนองต่อการเรียน (reaction) อย่างต่อเนื่อง |
- ควรมีความแน่วแน่กับการเรียน (concentrate) |
- จัดลำดับเรี่องที่จะเรียน (organization) ให้เป็นหมวดหมู่ก่อนหลัง ไม่ปะปนกัน |
- ควรมีความเข้าใจ (comprehension) ในจุดมุ่งหมายในเนื้อหาที่เรียน |
- มีการทบทวน (repettition) เพื่อเป็นการไม่ให้ลืม |
เทคนิคการอ่านหนังสือ โดย อ.พรทิพย์ ศรีสุรักษ์ |
- สำรวจเนื้อหาและส่วนประกอบต่างๆในเล่มทั้งหมด |
- อ่านเนื้อหาทั้งหมด แล้วอ่านซ้ำเพื่อจับ |
- ควรมีการตั้งคำถามกับตัวเองขณะอ่าน ว่าใคร ทำอะไร ที่ใหน เมื่อไหร่ อย่างไร |
- ขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญจากนั้นบันทึกเป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย |
- พยายามจับประเด็นจากคำบรรยายและจากตำราให้เข้ากัน |
- ต้องมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ |
หลัก SQ3R เพื่อช่วยให้การอ่านตำราประสบความสำเร็จมีดังนี้ |
S: | servey | คือ การสำรวจตำราเรียนอย่างคร่าวๆ |
Q: | question | คือ การตั้งคำถามทั่วๆไปเพื่อที่จะเข้าสู่เนื้อหา |
R: | read | แล้วก็ต้องอ่านเพื่อจับประเด็นความคิดออกมา |
R: | recall | แล้วต้องพยายามที่จะจดจำในเนื้อหาที่สำคัญๆไว้ด้วย และ R สุดท้าย |
R: | review | หมั่นทบทวนอยู่เสมอเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและการนำไปใช้ |
นอกจากนี้ อ.ธีรพร ชัยวัชราภรณ์ ยังให้เทคนิคการจำที่น่าสนใจ ให้นำไปใช้อีกด้วย |
- อย่าจดจำในสิ่งที่ตัวเองยังไม่เข้าใจ |
- ทบทวนบันทึกหลังการเรียนมาภายใน12ชม. |
- ต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาทุกๆตอนก่อนที่จะผ่านไปและต้องทบทวนอย่างสม่ำเมอ |
- พยายามเรียนให้มากๆและอย่าเพิ่งหยุดในขณะที่เพิ่งเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ |
- เลือกจำเฉพาะจุดที่สำคัญและรวบรวมเนื่อหาเหล่านั้นเข้าด้วยกันและมีระบบขั้นตอน |
- ทำการซ้ำหลายๆหน เช่นท่องปากเปล่าหรือเขียนเพื่อที่จะช่วยให้จดจำได้มากขึ้น และ |
- การท่องเป็นจังหวะจะช่วยให้ท่องจำได้ง่ายขึ้น |
วิธีเรียนให้เก่ง |
ฝึกสังเกต สังเกตในสิ่งที่เราเห็น หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ไปดูนก ดูผีเสื้อ หรือในการทำงาน การฝึกสังเกตจะทำให้เกิดปัญญามาก โลกทรรศน์ และวิธีคิด สติ-สมาธิ จะเข้าไปมีผลต่อการสังเกต และสิ่งที่สังเกต |
ฝึกบันทึก เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรฝึกบันทึก โดยจะวาดรูปหรือ บันทึกข้อความ ถ่ายภาพ ถ่ายวีดิโอ ละเอียดมากน้อยตามวัยและ ตามสถานการณ์การบันทึกเป็นการพัฒนาปัญญา |
ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม กลุ่ม เมื่อ มีการทำงานกลุ่ม เรา ไปเรียนรู้อะไรมาบันทึกอะไรมา จะนำเสนอให้เพื่อนหรือครูรู้เรื่อง ได้อย่างไร ก็ต้องฝึกการนำเสนอการนำเสนอได้ดีจึงเป็นการพัฒนา ปัญญาทั้งของผู้นำเสนอและของกลุ่ม |
ฝึกการฟัง ถ้ารู้จักฟังคนอื่นก็จะทำให้ฉลาดขึ้น โบราณเรียกว่า เป็นพหูสูตบางคนไม่ได้ยินคนอื่นพูด เพราะหมกมุ่นอยู่ในความคิด ของตัวเองหรือมีความฝังใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนเรื่องอื่นเข้าไม่ได้ ฉันทะ สติ สมาธิ จะช่วยให้ฟังได้ดีขึ้น |
ฝึกปุจฉา-วิสัชนา เมื่อมีการนำเสนอและการฟังแล้ว ฝึกปุจฉา-วิสัชนา หรือถาม-ตอบ ซึ่งเป็นการฝึกใช้เหตุผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำ ให้เกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นๆ ถ้าเราฟังครูโดยไม่ถาม-ตอบ ก็ จะไม่แจ่มแจ้ง |
ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม เวลาเรียนรู้อะไรไปแล้ว เรา ต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนั้นเกิดจากอะไร อะไรมีประโยชน์ ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์อันนั้น และมีการ ฝึกการตั้งคำถาม ถ้ากลุ่มช่วยกันคิดคำถามที่มีคุณค่าและมีความ สำคัญ ก็จะอยากได้คำตอบ |
ฝึกการค้นหาคำตอบ เมื่อมีคำถามแล้วก็ควรไปค้นหาคำตอบ จากหนังสือ จากตำรา จากอินเตอร์เน็ต หรือไปคุยกับคนเฒ่าคน แก่ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่ สำคัญจะสนุกและทำให้ได้ความรู้มาก ต่างจากการท่องหนังสือ โดยไม่มีคำถาม บางคำถามเมื่อค้นหาคำตอบทุกวิถีทางจนหมด แล้วก็ไม่พบ แต่ถามยังอยู่ และมีความสำคัญ ต้องหาคำตอบต่อ ไปด้วยการวิจัย |
การวิจัย การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้ทุกระดับการวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิด ความภูมิใจ สนุก และมีประโยชน์มาก |
เชื่อมโยงบูรณาการ ให้เห็นความเป็นทั้งหมดและเห็นตัวเอง ธรรมชาติของสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง เมื่อเรียนรู้อะไรมาอย่าให้ความ รู้นั้นแยกเป็นส่วน ๆ แต่ควรจะเชื่อมโยงเป็นบูรณาการให้เห็นความเป็น ทั้งหมดในความเป็นทั้งหมดจะมีความงาม และมีมิติอื่นผุดบังเกิด ออกมาเหนือความเป็นส่วน ๆ และในความเป็นทั้งหมดนั้นมองให้ เห็นตัวเอง เกิดการรู้ตัวเองตามความเป็นจริง ว่าสัมพันธ์กับความ เป็นทั้งหมดอย่างไร จริยธรรมอยู่ที่ตรงนี้ คือการเรียนรู้ตัวเองตาม ความเป็นจริง ว่าสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร |
ดังนั้น ไม่ว่าการเรียนรู้อะไร ๆ ก็มีมิติทางจริยธรรมอยู่ในนั้นเสมอ มิติทางจริยธรรมอยู่ในความเป็นทั้งหมดนั่นเอง ต่างจากการเอา จริยธรรมไปเป็นวิชา ๆ หนึ่งแบบแยกส่วน แล้วก็ไม่ค่อยได้ผล ในการบูรณาการความรู้ที่เรียนรู้มาให้รู้ความเป็นทั้งหมด และเห็นตัวเองนี้ จะนำไปสู่อิสรภาพและความสุขอันล้นเหลือ เพราะ หลุดพ้นจากความบีบคั้นของความไม่รู้ การไตร่ตรองนี้จะโยงกลับไป สู่วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ว่าเพื่อลดตัวกู-ของกู และเพื่อการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ อันจะช่วยกำกับให้การแสวงหาความรู้เป็นไป เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว มิใช่เป็นไปเพื่อความกำเริบแห่งอหังการ และเพื่อรบกวนการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ |
ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ ถึงกระบวนการเรียนรู้และความรู้ ใหม่ที่ได้มาการเรียบเรียงทางวิชาการเป็นการเรียบเรียงความคิดให้ประณีตขึ้น ทำให้ค้นคว้าหาหลักฐานที่มาที่อ้างอิงของความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นยำขึ้น การเรียบเรียงทางวิชากรจึงเป็นการพัฒนาปัญญาของตนเองอย่างสำคัญ และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป |
วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการทำงาน และโครงสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ การถอดประกอบ
ตรวจสภาพชิ้นส่วน หลักการจัดระบบเครือข่ายเบื้องต้น
2. เพื่อให้สามารถบำรุงรักษา ตรวจซ่อม และจัดการธุรกิจคอมพิวเตอร์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประณีตรอบคอบ และปลอดภัย
ตรวจสภาพชิ้นส่วน หลักการจัดระบบเครือข่ายเบื้องต้น
2. เพื่อให้สามารถบำรุงรักษา ตรวจซ่อม และจัดการธุรกิจคอมพิวเตอร์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประณีตรอบคอบ และปลอดภัย
มาตรฐานรายวิชา
1. เข้าใจหลักการทำงานและการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
2. ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ และตรวจซ่อม เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
3. ติดตั้งโปรแกรม และบำรุงรักษาเครือข่ายเบื้องต้น
2. ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ และตรวจซ่อม เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
3. ติดตั้งโปรแกรม และบำรุงรักษาเครือข่ายเบื้องต้น
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและการปฏิบัติ การประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ และตรวจซ่อม เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ แผงวงจรการสื่อสาร การติดตั้งโปรแกรม การจัดห้องซ่อม การรับ-ส่งงาน และการประมาณราคา การทดสอบคุณภาพงานให้ได้มาตรฐาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)